แบบบ้านหลังคาจั่ว สองชั้น เนรมิตความสวยที่แปลกใหม่
แบบบ้านหลังคาจั่ว การปลูกสร้างบ้าน ส่วนหลังคานอกจากเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยป้องกันแดด ลม และน้ำฝน แล้ว แบบหรือรูปทรงหลังคายังเป็นส่วนที่ช่วยให้บ้านดูโดดเด่นสวยงาม หลังคาทรงจั่ว เป็นหนึ่งในแบบหลังคาบ้านที่ได้รับความนิยมและพบเห็นได้มาก
หลังคาทรงจั่ว คือ เป็นแบบหลังคาบ้านที่มีเอกลักษณ์และเป็นทรงพื้นฐานที่พบเห็นได้ทั่วไปในประเทศไทย ลักษณะทรงหลังคาเป็นหน้าจั่วสามเหลี่ยมยาวไปตลอดทั้งอาคารมีด้านปะทะลมสองด้านและด้านลาดชันสองด้าน ซึ่งองศาความลาดเอียงของทั้งสองฝั่งอาจจะเท่าหรือไม่เท่ากันก็ได้ เมื่อมองจากไกลจะมองเห็นทรงหลังคาเป็นรูปสามเหลี่ยม
หลังคาทรงจั่ว เหมาะกับเป็นแบบหลังคาบ้านของไทยมาตั้งแต่ยุคโบราณ เพราะเหมาะกับการสร้างบ้านในสภาพอากาศร้อนชื้น นอกจากนิยมใช้เป็นหลังบ้านเรือนไทยแล้ว หลังคาทรงจั่ว ยังประยุกต์ใช้กับบ้านแบบสมัยใหม่ได้หลากหลาย เช่น หลังคาทรงจั่วกับบ้านปูนเปลือย หรือหลังคาสองสองชั้นทรงจั่ว
ไอเดียแบบบ้านผนังไม้ หลังคาจั่ว
บ้านในที่รูปทรงคุ้นตา หากเราเปลี่ยนวัสดุที่ใช้และรูปแบบช่องแสงเพียงไม่กี่จุด กลับทำให้ภาพรวมของบ้านดูต่างออกไปอย่างไม่น่าเชื่อ ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือบ้านบนเขาหลังนี้ ดูเผิน ๆ รู้สึกเหมือนบ้านไม้สองชั้นทรงจั่วที่มีให้เห็นทั่วไป แต่เปลี่ยนวัสดุหลังคามาใช้แผ่นเหล็กรีด ใส่บานหน้าต่างกระจกที่ล้อไปกับทรงหลังคา หน้าบ้านและภายในแทรกแซมด้วยปูนเปลือย ผสมความคลาสสิคแบบบ้าน ๆ เข้ากับความเรียบคมตามแบบบ้านโมเดิร์น ออกมาเป็นบ้านง่าย ๆ แต่ดูเท่าไหร่ก็ไม่เบื่อ
บ้าน ที่ตั้งอย่างสง่างามอยู่บนเขาดูโมเดิร์นปนอบอุ่นหลังนี้ สร้างอยู่ที่ Augusta, จอร์เจีย ประเทศสหรัฐอเมริกานี้ได้แรงบันดาลใจมาจากความทรงจำของลูกค้าที่เคยไปพักผ่อน และประทับใจรูปแบบบ้านใน Canadian Rockies ซึ่งจะเป็นอาคารหลังใหญ่หลังคาจั่วซ้อนกันหลาย ๆ ชั้น สถาปนิกนำมาตีความใหม่บูรณาการสถาปัตยกรรมแบบใหม่เข้ากับแบบเก่า เพื่อให้บ้านรับแสงธรรมชาติได้ดีในช่วงกลางวัน การระบายอากาศแบบ passive หรือระบบการถ่ายเทตามธรรมชาติ เน้นการพึ่งพาพลังงานธรรมชาติ อย่างเช่น ความร้อนใต้พิภพและการเก็บรวบรวมพลังงานแสงอาทิตย์จากเซลล์แสงอาทิตย์
ตัวบ้านเห็นชัด ๆ ว่าวัสดุหลักเป็นไม้ซีดาร์ไม่ทำสี ไม้ชนิดนี้ซึ่งมีความแข็งแรงคงทนต่อสภาพอากาศ หลังคาแผ่นเหล็กเคลือบ และโครงสร้างบ้านที่มีทั้งไม้ เหล็ก และคอนกรีต เมื่อเข้ามาสู่ภายในจะรู้สึกได้ทันทีถึงความโปร่งและอบอุ่นน่าสบายแบบโมเดิร์นคันทรี่ ด้วยการออกแบบหลังคาทรงสูงสร้างความโอ่โถง เปิดเพดานโชว์คานไม้ ผนังส่วนจั่วติดช่องกระจกรับแสงธรรมชาติเข้าสู่บ้านได้เต็มที่จากมุมบน ตัวบ้านเน้นความรู้สึกใกล้ชิดกับธรรมชาติ โดยทาภายในด้วยสีขาวเป็นสีหลักตัดด้วยสีน้ำตาลของไม้ท่อนใหญ่ ๆ คอนกรีตสีเทา และแผ่นเหล็กสีดำ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด
ความเรียบง่ายของวัสดุเมื่อมาบรรจบกับดีไซน์ การจัดการพื้นที่ที่ดี เกิดเป็นรายละเอียดที่ชวนจดจำ สถาปนิกออกแบบโดยผสมวัสดุที่มีเสน่ห์ดิบ ๆ ไม่ต้องปรุงแต่งมากมาใส่ในโครงสร้างแบบโมเดิร์น รอบบ้านใส่จังหวะของช่องแสงเปิดรับทั้งความสว่างและทัศนียภาพรอบ ๆ ได้เห็นความสวยงามของธรรมชาติ รับลมภูเขา ชื่นใจไปกับความพริ้วไหวของยอดไม้ได้ในทุกมุมของบ้าน
ความสมดุลของการใช้สีเข้มตัดอ่อน ความอบอุ่นนุ่มนวลกับความนิ่งเย็น มีให้เห็นทุกพื้นที่บ้าน ผ่านวัสดุและของตกแต่งอย่าง โซฟาสีเทาตัวนุ่ม โต๊ะสีดำ ผนังคอนกรีต เสาไม้ ราวเหล็ก ห้องทานอาหารเชื่อมต่อมา จากห้องนั่งเล่นโดยไม่มีผนังกั้น ทำให้สัญจรได้อย่างลื่นไหลต่อเนื่อง ผนังห้องนี้ติดบานประตูสวิงขนาดใหญ่ เปิดออกรับวิวสวนได้เต็มที่ ให้ทุกมื้ออาหารมีความ พิเศษเหมือนกับนั่งอยู่ในร้านอาหารในรีสอร์ทหรู ๆ
ห้องครัวทั่วๆ ไปมักจะเป็นครัวสีโทนอ่อนๆ มองสบายตา แต่สีดำกับห้องครัวก็ทำให้บ้านดูเรียบหรูขึ้นได้ โดยเนื้อแท้แล้วสีดำไม่เหมาะกับห้องที่แสงเข้าน้อยเพราะ จะดูมืดไปด้วยกันหมด ห้องครัวนี้จึงจัดให้อยู่ใกล้ช่องแสงขนาดใหญ่ เพื่อช่วยดึงแสงสว่างเข้าในพื้นที่ และใช้สีขาวเบรกความเข้มทึบของสีดำ ห้องนอน และห้องน้ำเป็นมุมส่วนตัวที่ต้องให้ความ รู้สึกผ่อนคลายที่สุด สถาปนิกเลือกตกแต่งห้องในโทนสีเอิร์ธโทน เทา น้ำตาล และใส่ช่องแสงให้ความโปร่งสว่างเข้าสู่ phuket property พื้นที่ห้องในระดับที่พอเหมาะ ทำให้บรรยากาศชวนให้พักผ่อน
พื้นที่มีความต่างระดับสถาปนิกต้องออกแบบวิธีการที่จะสร้างบ้าน โดยให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ด้วยการขุดหลุมฝังตอม่อและต่อเสาเหล็กขึ้นมารองรับตัวบ้านให้อยู่ระดับเดียวกับจุดอื่น ๆ วิธีนี้นอกจากจะเป็นมิตรต่อต้อนไม้และสัตว์ในดินแล้ว ยังให้ผลดีตอบกลับมาที่บ้าน ทำให้ลมพาดผ่านข้างได้ตัวบ้านได้ดี บ้านจึงไม่มีความชื้นสะสมและรับอากาศเย็นได้รอบบริเวณ
วัสดุปูพื้นบ้านเป็นแผ่นคอนกรีตที่ดูต่อเนื่องกับแผ่นหินธรรมชาติ ทำให้รู้สึกได้ถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างตัวอาคารกับสภาพแวดล้อม รอบบ้านมีพื้นที่ต่อเชื่อมกับธรรมชาติได้ กว้างขวางทุกด้าน สถาปนิกจึงออกแบบ landscape ให้เปิดโล่งต่อเชื่อมพื้นผิว hardscape ที่ธรรมชาติสร้างสรรค์เอาไว้อย่างกลมกลืน รอบ ๆ ปลูกไม้พุ่มและไม้ยืนต้นขนาดกลาง เพื่อให้สอดคล้องกับภาพพื้นหลังที่เป็นทิวเขา เต็มไปด้วยต้นไม้ใบเขียวดูสดชื่น
ข้อดีของบ้านทรงจั่ว
- เป็นบ้านที่หลังคา ที่สามารถรับลมได้ดีที่สุด และก่อสร้างได้ง่ายกว่าหลังคาทรงอื่น
- มีพื้นที่ใต้หลังคามาก มวลอากาศใต้หลังคา จะทำหน้าที่เสมือนเป็นฉนวนอีกหนึ่งชั้น ช่วยกันความร้อนไม่ให้เข้ามาภายในบ้านได้
- ความลาดเอียงของหลังคา มีประโยชน์ในเรื่องการถ่ายเทน้ำฝน ยื่นชายคาป้องกันแสงแดด มีช่องลมทรงสามเหลี่ยม เพื่อระบายความร้อนได้ดีมากขึ้น
- รูปทรงลาดเอียงของ หลังคาทรงจั่ว ทำให้อากาศมีการไหลเวียน ดึงเอาอากาศเย็นจากภายนอกเข้ามา ช่วยระบายความร้อนภายใน
- ด้วยเหตุนี้ บ้านทรงจั่ว จึงเหมาะกับสภาพอากาศเมืองไทยที่ร้อนมากกว่าหนาว และถ้าหากมีการวางทิศทางที่เหมาะสม ยังช่วยรับลมประจำถิ่นได้ด้วย
ข้อเสีของบ้านทรงจั่ว
- บ้านหลังคาทรงจั่วนั้น แม้รูปทรงของหลังคาทรงจั่ว ในด้านปะทะ จะรับลมได้ดี แต่เมื่อ ฝนตก อาจจะทำให้ฝนสาดได้ หากตัวบ้าน และหน้าจั่วหันผิดทิศ
- แม้รูปทรงของหลังคาทรงจั่วด้านปะทะจะรับลมได้ดี แต่อาจเกิดเหตุการณ์ฝนสาดได้หากตัวบ้านและหน้าจั่วหันผิดทิศ สำหรับบ้านหลังคาทรงจั่ว นอกจากประยุกต์ใช้กับแบบบ้านสมัยใหม่ได้แล้ว วัสดุ ก่อสร้าง ในการทำโครงหลังคา ยังใช้ได้ทั้งโครงไม้ และโครงหลังคาเหล็กอีกด้วย