แบบบ้านสไตล์มินิมอล 2 ชั้น เป็นที่นิยมในปัจจุบัน
แบบบ้านสไตล์มินิมอล 2 ชั้น บ้านสไตล์มินิมอล (Minimal Style) เป็นสไตล์การแต่งบ้านที่นิยมมาโดยตลอด และนิยมอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ด้วยสไตล์ที่เรียบง่ายดูโล่งสบายตา และใช้เฟอร์นิเจอร์น้อยชิ้นในการแต่งบ้าน แต่ยังมีอีกหลายบ้านที่พยายามแต่งบ้านให้เป็นสไตล์มินิมอลแต่ก็ล้มเหลวทุกครั้งไป แต่งยังไงก็ไม่ได้รับกลิ่นอายความเป็นมินิมอลเลยแม้แต่นิดเดียว
Minimal Style แต่งบ้านสไตล์มินิมอล ที่กําลังได้รับความนิยมอยู่ในขณะนี้ คือสไตล์การตกแต่งที่เรียบง่าย ใช้เฟอร์นิเจอร์น้อยชิ้น หากแต่มากด้วยประโยชน์ รวมไปถึงการเลือกใช้งานสิ่งต่างๆ ตามความจําเป็นเท่านั้น ซึ่งจะถูกจัดวางอย่างมีระเบียบเรียบร้อย เอกลักษณ์ในการตกแต่งสไตล์มินิมอลนั้นมักจะมีโทน สีแบบโมโนโทนหรือสีอ่อนๆ รวมถึงการออกแบบ ที่มีเส้นสายตาที่ตรงและชาร์ป มีความสมดุลและความผ่อน คลาย เฟอร์นิเจอร์ทุกชิ้นที่คัดสรรมา ตกแต่งในบ้านสไตล์นี้ มักจะตอบสนองการใช้งาน ได้อย่างครบถ้วน ท่ามกลางความไม่มากไม่น้อยจนเกินพอดี
การตกแต่งบ้านสไตล์มินิมอลยังนิยมที่จะจัดพื้นที่สเปสให้มีความว่างและดูกว้างเข้าไว้ โดยไม่นิยมการสะสมสิ่ง ของหรือข้าวของเครื่องใช้ที่ไม่จําเป็น การตกแต่งบ้านสไตล์มินิมอลจึงดูเรียบง่าย น้อยชิ้น แต่ทว่าครบถ้วนในเรื่องของประโยชน์ การใช้สอย การตกแต่งบ้านสไตล์นี้จึงเหมาะมากๆ สําหรับหนุ่มสาวรุ่นใหม่ที่รักความสงบ และชอบการตกแต่งบ้านที่เน้นความสะอาด ปลอดโปร่ง โล่งสบายเป็นอย่างยิ่ง เราไปดูกันดีกว่าว่า ข้อดีของการมีบ้านสไตล์มินิมอล และวิธีการตกแต่งบ้านของคุณให้เป็นสไตล์
แบบบ้านญี่ปุ่นโมเดิร์นมินิมอล
วัฒนธรรมญี่ปุ่นนั้นน่าตื่นเต้นและรุ่มรวยด้วยเอกลักษณ์ โดยเฉพาะบ้านทั้งยุตเก่าที่สวยงาม ประณีตในงานฝีมือ หรือบ้านใหม่ที่เผยให้เห็นความกล้าทดลองของพวกเขา แม้ในสิ่งที่ธรรมดาที่สุด อย่างการการออกแบบบ้านที่เรียบง่าย ก็ไม่ไดง่ายแบบไม่มีรายละเอียดอะไรเลย เพราะในความน้อยก็ยัง ขึ้นชื่อว่ามาพร้อมกับฟังก์ชันการทำงานที่ตรงไปตรงมา เหมือนเช่น บ้านในอากิชิมะโดย Office M-Saแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความเรียบง่ายภายนอกทั้งสีและวัสดุ แต่ภายในกลับซ่อนแนวคิดให้สามารถ ปรับเปลี่ยนรูปแบบและการใช้งานในอนาคตได้อย่างคาดไม่ถึง
Office m-sa ออกแบบ “Wakuwakusuru” Tsukuri no House บ้านพื้นที่ 110 ตารางเมตร ที่ตั้งอยู่ในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น การออกแบบเริ่มต้นด้วย การสนทนากับเจ้าของบ้าน ที่มีความต้องการค่อนข้างแปลก คือ“ต้องการอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อม ที่ยืดหยุ่นแตกต่างกัน ตอบสนองต่อเวลาไม่เฉพาะวันนี้ และต้องใช้งานได้ทั้งหมดอย่างมีประสิทธิภาพ” สถาปนิกจึงตีโจทย์บ้านซึ่งแสดงสถาปัตยกรรมที่ปรับให้เข้ากับ การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมและชีวิต เป็นบ้านสองชั้นผสมผสานระหว่างคอนกรีต ไม้ กระจก มีบันไดเดินเข้าสู่ดาดฟ้าได้โดยตรง บ้านญี่ปุ่นโมเดิร์นมินิมอล
ระหว่างขั้นตอนการก่อสร้าง จะเห็นว่างานหลัก ๆ จะมีสองส่วนคือ ส่วนฐานราก และองค์ประกอบของบ้านหลัก ๆ จะเป็นวัสดุคอนกรีตเปลือย แล้วค่อยเติมส่วนที่เลือด้วยไม้และกระจก ทีมงานชั่งน้ำหนักระหว่างความแตกต่าง และความแข็งแกร่งของคอนกรีต และความอบอุ่นเป็นมิตรของไม้อย่างพิถีพิถัน รวมถึงในแง่ของพื้นผิว และความทนทาน ตามแผนภาพรวมใหญ่ของบ้านหลังนี้ ต้องการการทำให้บ้านน่าอยู่ในปัจจุบัน และพร้อมสำหรับอนาคต ดังนั้นรากฐานต้องทนทานต่อการสึกหรอได้ดี เช่น โครงสร้างคอนกรีตที่อาจยืนยาวอยู่ในบ้านได้นับสิบนับร้อยปี ก็เลือกใส่ในจุดที่ต้องการความมั่นคงแข็งแรง อาทิ ฐานราก บันได ซุ้มประตูเป็นโครงหลัก ๆ สามารถใช้เป็นรากฐานสำหรับบ้านใหม่ สนามเด็กเล่น หรือเวทีสำหรับการแสดงในอนาคต ส่วนโครงสร้างที่สามารถขยายหรือรื้อถอนได้ภายในไม่กี่ปีหากมีความจำเป็นต้องขยับขยายปรับเปลี่ยนก็ใช้งานไม้เป็นหลัก phuket property
บันไดคอนกรีดที่ต่อเชื่อมกับซุ้มประตูโค้ง ถึงจะไม่มีสีสัน รูปแบบเรียบๆ แต่กลับกลายเป็นจุดสนใจ ที่ชวนให้โฟกัสสายตาในกลางบ้าน หลังจากส่วนคอนกรีตเรียบร้อย สถาปนิกก็เติมให้ส่วนหลังคา และผนังล้อมอยู่ระหว่างฐานราก เพื่อให้เกิดช่องว่างภายใน ไม่มีเสาบ้าน ให้พื้นที่บ้านเชื่อมต่อกันอย่างหลวมๆ ไม่มีขอบเขตที่แน่นอนเหมือนบ้านที่มีเสาแล้วก่อห้องปิดทึบแยกเป็นห้องเล็กห้องน้อย ซึ่งวิธีนี้จะทำให้บ้านยืดหยุ่น สามารถเปลี่ยนรูปแบบการใช้งาน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงตารางกิจกรรมราย วันที่อาจไม่เหมือนกัน บ้านในอากิชิมะนั้นจึงเรียบง่ายแต่มีประโยชน์ใช้สอย การจัดวางและห้องต่างๆ ให้ความอบอุ่นเรียบง่ายซึ่งครอบครัว สามารถกลับบ้านมาใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย
ผนังในส่วนที่เป็นงานไม้อัด ไม่ได้หมายความว่าไม่แข็งแรง เพราะหากเลือกไม้อัดไส้ไม้ที่มีความหนาตามสเปคการใช้งาน จะสามารถรองรับน้ำหนักได้ไม่แพ้ไม้แท้ และยังสามารถดัดโค้ง ตัด ใช้งานได้หลายรูปแบบ หากวันไหนสมาชิกในบ้านเพิ่มขึ้น ผนังที่ไม่จำเป็นก็สามารถรื้อถอน ได้ง่ายโดยไม่กระทบ ต่อโครงสร้างหลักของบ้าน สีเทาและพื้นผิวของคอนกรีต หากใช้ในบริเวณกว้างเกินไปก็อาจดูแข็งกระด้าง เมื่อถูกจับคู่กับไม้ทำให้ความอบอุ่น มาลดทอนความดิบได้อย่างลงตัวพอดี บ้านจัดสรร
บันไดที่ตั้งอยู่นอกบ้าน ตามหลักฮวงจุ้ยจะเรียกว่า “บันไดโจร” ซึ่งอาจจะเป็นเพราะบันไดนอกบ้าน เป็นช่องทางที่มิจฉาชีพจะเข้าถึงตัวบ้านบริเวณชั้นบนได้ง่าย การทำบันไดด้าน นอกมีข้อดีตรงที่สามารถขึ้นลง ได้โดยไม่ต้องเดินผ่านลัดเข้าไปในตัวบ้าน จึงยังคงความรู้สึกเป็นส่วนตัว แต่ก็ต้องแน่ใจว่าบ้านมีระบบความปลอดภัยของประตูหน้าต่างอย่างดี
ข้อดีของการ แต่งบ้าน สไตล์มินิมอล
1.ความเครียดน้อยลง
ยิ่งมีของมาก ก็ยิ่งมีภาระวุ่นวาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาต้องย้ายที่พัก ที่กว่าจะเก็บและย้ายข้าวของแต่ละทีต้องใช้เวลา แถมถ้าใครไม่มีรถส่วนตัว ก็อาจจะต้องคอยทะยอยย้ายของจากที่พักเก่า ไปยังที่ใหม่หลายรอบกว่าจะครบ ทั้งเหนื่อย ทั้งเครียด แต่ถ้าคุณมีของน้อยชิ้นที่เป็นของที่มีประโยชน์ต่อการใช้สอยจริงๆ นอกจากจะไม่ทำให้บ้านรกไปด้วยของใช้ที่ไม่จำเป็นแล้ว ยังทำให้บ้านของคุณดูเรียบง่าย เห็นแล้วรู้สึกสบายตา สบายใจได้อีกด้วยนะ
2.ทำให้บ้านดูน่าดึงดูดมากขึ้น
ลองนึกถึงภาพถ่ายของ บ้าน ที่เต็มไปด้วยของใช้มากมาย กับภาพของบ้านสไตล์มินิมอลที่ดูเผินๆ แล้วดูเรียบไม่มีอะไร แต่จริงๆ แล้วแฝงไว้ด้วยความสวยงามของเฟอร์นิเจอร์เรียบหรู งานศิลปะดีๆ สักชิ้น และของตกแต่งบ้านน้อยชิ้น แต่ว่าแต่ละอันช่างดูเก๋ไก๋เหลือเกิน ซึ่งบ้านสไตล์มินิมอลแบบนี้ต่างหาก ที่เห็นเมื่อไหร่แล้วต้องทำให้เราหยุดดู ดึงความสนใจได้ดีนักเชียว ซึ่งถ้าคุณอยากให้บ้านของคุณดูน่าดึงดูดมากขึ้น ก็สามารถลองแต่งบ้านให้เป็นสไตล์มินิมอลดูได้
3.ทำความสะอาดได้ง่ายกว่า
แค่คิดว่าจะต้องทำความสะอาดบ้านที่เต็มไปด้วยของตกแต่ง ของใช้มากมาย ก็รู้สึกเหนื่อยแล้วใช่ไหมล่ะ เวลาจะปัดกวาด เช็ดถู หรือดูดฝุ่นที ก็เสียเวลาไปหลายชั่วโมงทีเดียว แถมยิ่งของเยอะเท่าไหร่ คุณก็ยิ่งต้องหมั่นทำความสะอาดบ่อยขึ้นเท่านั้น ซึ่งสามารถนำไปสู่ข้อแรกคือ ทำให้เครียดและหงุดหงิด (เพราะใครจะอยากมานั่งทำความสะอาดบ้านบ่อยๆ?) แต่ลองนึกภาพถ้าบ้านของคุณมีของน้อยชิ้นดูสิ ทำความสะอาดแป๊ปเดียวก็เสร็จ แถมยังมีเวลาไปทำอย่างอื่นมากขึ้นอีกต่างหาก