บ้านโมเดิร์นทรงกล่อง ชั้นเดียว
บ้านโมเดิร์นทรงกล่อง ชั้นเดียว
แบบบ้านสไตล์โมเดิร์น MD19 เป็นแบบบ้านชั้นเดียวขนาด 3 ห้องนอน 3 ห้องน้ำที่มีการออกแบบเป็นบ้านลักษณะทรงเหลี่ยมเลขาคณิตที่อาจคุ้นในชื่อเรียกว่าแบบบ้านกล่อง โดยมีการยกพื้นและเล่นระดับใน 2 ระดับ เพื่อให้การขึ้นลงตัวบ้านเป็นไปอย่างสะดวกและใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่ารวมถึงประโยชน์ในการใช้เป็นใต้ถุนนั่งเล่น จอดรถ และการเก็บของในส่วนใต้พื้นบ้านได้ นอกจากนั้น MD19 ยังถูกออกแบบให้เป็นบ้านที่รองรับแผ่นดินไหว รวมทั้งสามารถรองรับปัญหาน้ำท่วมในระดับไม่สูงมากได้
แบบบ้านโมเดิร์นชั้นเดียว MD19 เป็นแบบบ้านที่เน้นรูปทรงที่เป็นเอกลักษณ์และพยายามออกแบบให้เป็นบ้านที่ใช้พื้นที่ดินปลูกสร้างไม่มากแต่ได้พื้นที่ใช่สอยที่คุ้มค่าและคุ้มราคาก่อสร้าง
ลักษณะเด่นโดยทั่วไปของแบบบ้านโมเดิร์นชั้นเดียวยกพื้น MD19
- มีการออกแบบให้เป็นบ้านที่คุ้มค่ากับการลงทุนปลูกสร้าง โดยได้พื้นที่ใช้สอยครบถ้วนตามแบบฉบับบ้านขนาดกลาง ซึ่งมีขนาด 3 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ มีส่สนใต้ถุนที่สามารถที่จอดรถได้ ถึง 2 คัน หรือดัดแปลงเป็นส่วนนั่งเล่นใต้ถุนได้
- มีการแบ่งพื้นที่ใช้สอยออกเป็นสัดส่วนและกว้างขวางเน้นทั้งรูปทรงและประโยชน์ใช้สอยอย่างเต็มที่ โดยแบ่งแยกห้องครัวลงใต้ถุนบ้านเพื่อป้องกันปัญหากลิ่่น และมีบันไดขึ้นลงจากตัวบ้าน แบ่งแยกห้องนอนอยู่ส่วนบน 2 ห้อง และห้องนอนล่าง 1 ห้องสำหรับความสะดวกของผู้อยู่อาศัยที่เป็นผู้สูงอายุ
- มีการออกแบบเฉลียงหน้าบ้านที่กว้างขวางด้านหน้าของบ้าน และ ด้านบนของบ้าน
- ออกแบบให้เจ้าของบ้านสามารถนำไปปรับเปลี่ยนส่วนพื้นที่ต่างๆได้เองอย่างหลากหลาย เช่นหากต้องการทำเป็นบ้าน 4 ห้องนอน สามารถปรับได้โดยการก่อผนังในส่วนห้องนั่งเล่นได้ หรือจะทำการดัดแปลงใต้ถุนให้เป็นส่วนพื้นที่ใช้สอยต่างๆได้ในอนาคตอีกมากมาย
- ในส่วนยกพื้น 1.5 เมตร สามารถดัดแปลงเป็นห้องเก็บอุปกรณ์สิ่งของต่างๆได้อย่างมากมาย
- สามารถรองรับระดับน้ำท่วมสูงใน 2 ระดับคือ 1.3 เมตร และระดับ 2.8 เมตรได้
- หลังคาออกแบบโดยการซ่อนแผ่นหลังคา Metal Sheet ไว้ภายใน มิได้เป็นลักษณะการเทปูนซีเมนต์ดาดฟ้า จึงไม่เกิดปัญหาความร้อนหรือฝนรั่ว (ทังนี้ก็สามารถดัดแปลงเป็นการเทคอนกรีตเพื่อสร้างเป็นบ้านที่มีดาดฟ้า เพื่อใช้นั่งกินลม ชมวิวได้เช่นกันครับ)
- ออกแบบเพื่อการรองรับป้องกันแผ่นดินไหวตามระบบวิศวกรรมที่ได้มาตราฐานจากงานวิชาการที่น่าเชื่อถือ (เข้าดูบทความวิชาการที่นี่)
- สามารถปรับสไตล์การตกแต่งได้อย่างหลากหลาย ทั้งสไตล์ลอฟต์ สไตล์มูจิ สไตล์มินิมอล หรือโมเดิร์นคอนเทมโพลารี
รหัสแบบบ้าน : MD19
ขนาดตัวบ้าน : กว้าง 18.5 เมตร ลึก 12 เมตร
พื้นที่ใช้สอย : พื้นที่ใช้สอยทั้งหมดประมาณ 233ตร.ม (พื้นที่ภายในบ้าน 143 ตร.ม พื้นที่โล่งระเบียงภายนอก 35 ตร.ม พื้นที่ ใต้ถุน 55 ตร.ม)
จำนวนห้อง : 3 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ ที่จอดรถ 2 คันแบบขนาน ห้องเก็บของ ลานซักล้าง ห้องทำงาน ห้องครัว ห้องรับแขก
งบประมาณก่อสร้าง : เริ่มต้นประมาณ 1.9 ล้าน (พื้นที่ปิดในบ้านตารางเมตรละ 10,000 บาท และพื้นที่เปิดโล่ง ตารางเมตรละ 5,000 บาท) ทัง้นี้ ขึ้่นอยู่กับการเลือกใช้เกรดวัสดุก่อสร้าง จังหวัดที่สร้าง และกำไรที่ผ้รับเหมาคิด บ้านชั้นเดียวสไตล์ มูจิ มินิมอล
ราคาแบบบ้าน : 5,500 บาท (คลิ๊กดูวิธีการสั่งซื้อ) ปล.ทางเราไมไ่ด้รับสร้างบ้าน แต่จะมีฐานข้อมูลผู้รับเหมาทุกจังหวัดทั่วประเทศให้เมื่อท่านซื้อแบบจากเราไป
บ้านโมเดิร์น แต่งงานไม้
หลายบทความที่บ้านไอเดียได้นำแบบบ้านทรงกล่อมสี่เหลี่ยมมาให้ได้ชมกัน แม้ลักษณะภายนอกของแต่ละแบบจะไม่ได้แตกแต่างกันมากนัก แต่สิ่งที่ทำให้บ้านแต่ละหลังมีเสน่ห์และมีความสวยงามที่ต่างกันไป คือ การตกแต่งภายนอก และการจัดสรรพื้นที่ภายใน ให้เกิดความลงตัวและความสวยงามในแบบฉบับของตัวเอง เช่นเดียวกันบ้านกล่องสี่เหลี่ยมหลังนี้ หลังคาทรงแบนสีขาว เข้ากับงานไม้ที่ใช้ในการตกแต่งผนังภายนอก โรงจอดรถแบบบิวท์อิน ประตูอัตโนมัติ กลมกลืนและเป็นส่วนหนึ่งกับบ้าน
ออกแบบ : InForm
เนื้อหา : บ้านไอเดีย
งานไม้ นอกจากช่วยลดความเป็นเหลี่ยมเป็นมุมของรูปทรงแล้ว ยังช่วยเพิ่มความอ่อนโยน อบอุ่น และให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติที่แสนผ่อนคลายมากอีกด้วย ทางเดินเข้าบ้านอยู่ตรงกลางระหว่างโรงจอดรถและระเบียงนั่งเล่นภายนอก กั้นระแนงด้านข้างเป็นฉากกั้นบดบังสายตา ระแนงไม้แนวตั้งไม่ปิดทึบจนเกินไป ยังมีช่องให้แสงสาดส่องเข้ามาได้ แสงธรรมชาติจึงมีส่วนช่วยให้มุมนั่งเล่นที่ระเบียง มีความผ่อนคลายและมีชีวิตชีวา
มีประตูกระจกไซส์พิเศษ เปิดกว้างได้สุด ๆ ทำให้อากาศภายในหมุนเวียนได้สะดวก ห้องครัวสีขาวสะอาดสะอ้าน แม้จะเป็นสีที่เปื้อนได้ แต่ก็ทำให้เรามองเห็นคราบสกปรกชัดเจน ทำความสะอาดได้ทันท่วงที ไม่เกิดการสะสมของเชื้อโรค โต๊ะรับประทานอาหารตัวใหญ่ รองรับได้ถึง 10 ที่นั่ง เหมาะเป็นอย่างยิ่งกับการรวมตัวของญาติสนิท มิตรสหายในเทศกาลสำคัญ
ห้องนอนปูพื้นด้วยพรมสีเทา นุ่มสบายเท้าเวลาย่างเดิน มีประตูเปิดออกไปยังระเบียงและสนามหญ้าได้ เตียงนอน โต๊ะข้าง เลือกซื้อในคอลเลคชันเดียวกัน วัสดุไม้สีน้ำตาลเพิ่มความอบอุ่นให้แก่ช่วงเวลาการพักผ่อนในทุกวันคืน บ้านชั้นเดียวสไตล์ มูจิ ญี่ปุ่น
บ้านอิฐ หลังนี้คือตัวอย่างงานสถาปัตยกรรมที่เล่นกับเรื่องราวของอดีตและปัจจุบันได้อย่างน่าสนใจ ไม่ว่าจะในแง่ขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม การออกแบบความเชื่อมโยงของพื้นที่ภายในบ้าน หรือการสอดประสานเรื่องราวผ่านการตกแต่ง
ที่ตั้งของบ้านอยู่ในย่าน Petaling Jaya รัฐสลังงอร์ ประเทศมาเลเซีย แม้จะเป็นย่านที่มีบ้านเดี่ยวอยู่เยอะ แต่ก็ไม่ได้มีพื้นที่เหลือเฟือขนาดจะสร้างบ้านที่กินบริเวณกว้างๆได้ Dr.Tan Loke Mun ผู้ออกแบบ ได้รับโจทย์จาก Mr. Kenneth Koh เจ้าของบ้าน ให้รื้อบ้านเดิมออกและสร้างบ้านหลังใหม่ขนาดสูงสามชั้นแทน
จุดเด่นของบ้านหลังนี้คือผนังกระเบื้องดินเผาที่เห็นได้ชัดเจนจากภายนอก ซึ่งแท้จริงแล้วคือหลังคาของบ้านเดิมนั่นเอง “ระหว่างที่รื้อบ้านเดิม เราก็พบว่ากระเบื้องหลังคาชุดนี้เป็นงานฝีมือจากสมัยที่มาเลเซียยังนำเข้ากระเบื้องหลังคาจากกัลกัตตา ประเทศอินเดีย จึงรื้อเก็บไว้อย่างดี และนำมาใช้เป็นผนังที่สร้างความเป็นส่วนตัว รวมถึงป้องกันความร้อนให้ตัวบ้าน นอกจากนี้ผิวสัมผัสของกระเบื้องดินเผาเก่าก็สร้างความเชื่อมโยงกับวัสดุในบ้านได้เป็นอย่างดีด้วย หากต้องการสิ่งที่จะดูดีไปได้นานๆ และเป็นสิ่งที่อยู่เหนือกาลเวลาด้วย ก็ทำให้เราตัดสินใจเลือกใช้วัสดุดั้งเดิมของบ้าน และเติมเต็มด้วยอิฐมอญ คอนกรีต และเหล็ก”
การออกแบบบ้านหลังนี้เริ่มจากการจัดการพื้นที่ในลักษณะ “กล่อง” มีพื้นผิวภายนอกเป็นผนังกระเบื้องหลังคาดินเผาเดิม โดยติดตั้งบนโครงสร้างเหล็กที่ยึดกระเบื้องทุกแผ่นในแนวตั้ง สามารถเปิด-ปิดการรับแสงได้อย่างอิสระ ชุดโครงสร้างเหล็กนี้ต่อเนื่องจากโครงสร้างหลักของบ้าน ซึ่งทำให้เกิดการเชื่อมโยงพื้นที่“ภายใน” และ “ภายนอก” ที่สอดรับกันอย่างได้จังหวะลงตัว
ผู้ออกแบบเลือกที่จะให้พื้นที่ในแต่ละส่วนของบ้านมีอารมณ์แบบ “ภายนอก” สอดแทรกอยู่ ทั้งการเปิดผนังกระจกรับบรรยากาศของสวน การเลือกใช้ไม้กระถางในร่มที่เชื่อมโยงกับสวนภายนอก และการเปิดพื้นที่ Double Volume ให้สูงโปร่ง เมื่อแสงแดดอ่อนๆสาดเข้ามาในส่วนรับแขก ผนวกกับลมแผ่วๆจากพัดลมเพดาน จึงให้ความรู้สึกเหมือนนั่งอยู่ในสวน แม้จะเป็นห้องปรับอากาศก็ตามที
นอกจากการเล่นกับการจัดวางพื้นที่ให้สอดรับกันแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่บ้านหลังนี้ทำได้ดีก็คือการสร้างบรรยากาศที่อยู่เหนือ “กาลเวลา” ด้วยความที่เจ้าของบ้านมีพื้นเพมาจากเมืองมะละกา จึงเลือกตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์สไตล์จีนที่ทำโดยช่างชาวมะละกา ซึ่งมีทั้งงานเก่าสะสมและงานร่วมสมัย โดยเฉพาะภาพเขียนที่บอกเล่าเรื่องราวของเมืองนี้ที่อยู่ในความทรงจำของเจ้าของบ้าน เมื่อจัดวางอยู่ท่ามกลางผนังปูนเปลือยและอิฐแดง ก็ช่วยเติมเต็มบรรยากาศของบ้านนี้ให้ดูคล้ายตึกแถวในมะละกา แต่เป็นบริบทที่มีความร่วมสมัยขึ้น
ไม่บ่อยนักที่เราจะพบบ้านในเมืองใหญ่ที่ให้ความรู้สึกปลอดโปร่ง เป็นธรรมชาติ และเต็มเปี่ยมด้วยเรื่องราว ความลงตัวของการใช้วัสดุเก่าและใหม่ การเลือกใช้พื้นผิวของวัสดุที่ล้อรับกับพื้นเพของเจ้าของบ้าน ทำให้บ้านหลังนี้ตั้งอยู่บนพื้นที่ซึ่งไร้กาลเวลาอย่างแท้จริง อย่างน้อยเจ้าของบ้านก็น่าจะส่งมอบความทรงจำของเขาแก่รุ่นต่อไปของครอบครัวได้ผ่านทางบ้านหลังนี้
เจ้าของ : Mr. Kenneth Koh
ออกแบบ : DRTAN LM ARCHITECT by Dr.Tan Loke Mun
เรื่อง : “วุฒิกร สุทธิอาภา”
ภาพ : สิทธิศักดิ์ น้ำคำ
ประสานงาน : Mr.Lesvin Diong