บ้านทรอปิคอลบาหลีปนอินเดีย

บ้านทรอปิคอลบาหลีปนอินเดีย ไม่หวือหวา แต่อบอุ่นถูกใจ

บ้านทรอปิคอลบาหลีปนอินเดีย บ้านสไตล์ทรอปิคอล (Tropical Style) คือเป็นการสร้างบ้านให้มีความกลมกลืนกับธรรมชาติ ซึ่งเป็นการออกแบบบ้านในแนวคิดที่ให้ผู้อาศัย สามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติ และสามารถสัมผัสถึงกลิ่นไอ ของธรรมชาติอันแสนอบอุ่นได้ สร้างความผ่อนคลาย แก่การอยู่อาศัย บ้านสไตล์ทรอปิคอล เป็นบ้านอีกหนึ่งแบบที่เหมาะกับ ประเทศที่มีอากาศร้อนชื้นเหมือนประเทศไทย

บ้านสไตล์ทรอปิคอลสวยๆ ตกแต่งผนังหิน บ้านสองชั้นหลังนี้ ตั้งอยู่ในสุรัต ประเทศอินเดีย โจทย์ของเจ้าของบ้านนี้ คือ ต้องการโครงสร้างที่เรียบง่าย ไม่ว่าจะอยู่มุมไหน ๆ ก็รู้สึกเชื่อมโยงกับธรรมชาติ ห่างไกลจากความเร่งรีบ และความรู้สึกอึดอัดเบียดเสียดนของเมือง ด้วยเจตนารมณ์ที่เด่นชัด ทำให้ง่ายต่อการทำงานของสถาปนิก โดยการเลือกใช้วัสดุธรรมชาติมาเป็นส่วนหนึ่ง ของบ้านอย่างคุ้มค่า ในลักษณะที่เรียบง่ายที่สุด บ้านสร้างด้วยระบบโครงสร้าง แบบผสมผสาน ด้วยกำแพงหินรับน้ำหนัก และโครงสร้างภายนอกเป็นเหล็กพร้อม หลังคารูปปีกผีเสื้อ ที่เห็นได้ชัดเมื่อมองจากด้านข้าง

บ้านทรอปิคอลบาหลีปนอินเดีย

5 ปัจจัยการออกแบบบ้านสไตล์ทรอปิคอล

หลังจากรู้จักบ้านสไตล์ทรอปิคอลแล้วใครมีแพลนจะสร้างบ้านในสไตล์นี้ เตรียมจด 5 ปัจจัยที่ HomeTalks นำมาฝากกันได้เลย ถ้าทำครบตามข้อดัง 5 ต่อไปนี้ รับรองว่าคุณจะได้บ้านสไตล์ทรอปิคอลในฝันตามแบบที่จินตนาการไว้อย่างแน่นอน !

1.เลือกใช้สีเอิร์ธโทน
การเลือกใช้สีเป็นปัจจัยแรกที่ HomeTalks แนะนำสำหรับการแต่งบ้านสไตล์ทรอปิคอล เพราะการเลือกใช้สีเอิร์ธโทนที่มีความสว่างสดใสช่วยให้บรรยากาศบ้านดูผ่อนคลาย แถมยังเนียนไปกับธรรมชาติได้เป็นอย่างดี บ้านแฝด 

หมายเหตุ : บ้านสไตล์นี้ไม่นิยมใช้สีโทนเข้มอย่างดำหรือเทาเป็นหลัก เพราะอาจทำให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกอึดอัด แต่อาจจะมีการแทรกเข้ามาเล็กน้อยตามความเหมาะสม และความชอบส่วนตัว

2.ใช้วัสดุธรรมชาติ
บ้านสไตล์ทรอปิคอล โดดเด่นด้วยการตกแต่งโดยใช้วัสดุที่มาจากธรรมชาติ ทั้งการตกแต่งภายในและภายนอก โดยที่วัสดุส่วนใหญ่ที่นักออกแบบเลือกใช้ไม่ได้มีแค่ไม้เท่านั้น คุณอาจจะลองหยิบงานหวาย เครื่องสาน เซรามิก หรือแผ่นกระเบื้องดินเผาปูพื้มาเพิ่มกลิ่นอายของธรรมชาติให้บ้านสไตล์ทรอปิคอลให้ดูน่าอยู่อาศัยมากยิ่งขึ้น

3.เติมต้นไม้ให้บ้าน
เพราะธรรมชาติคือพระเอกของ บ้านสไตล์ทรอปิคอล HomeTalks จึงแนะนำให้มีการเติมพื้นที่สีเขียวให้กับบ้านสไตล์ทรอปิคอลของคุณ ถ้ามีพื้นที่เยอะก็อาจจะหาต้นไม้ที่ให้ร่มเงาขนาดใหญ่ หรือจะเป็นต้นไม้ตระกูลปาล์มหางกระรอก เพื่อให้บรรยากาศดูเป็นบ้านสไตล์ทรอปิคอลมากยิ่งขึ้น หรือถ้ามีพื้นที่น้อย อาจจะจัดสวนหน้าบ้านเล็ก ๆ หรือหลังบ้านโดยเลือกใช้ไม้คลุมดิน ไม้เลื้อย หรือต้นไม้ตระกูลเฟิร์น เป็นต้น

4.มีหน้าต่างหรือช่องรับลมขนาดใหญ่
อีกหนึ่งปัจจัยของบ้านสไตล์นี้คือความปลอดโปร่ง มีอากาศถ่ายเทได้ดี จึงต้องมีช่องรับลมหรือหน้าต่างบานใหญ่ เพื่อให้สายลมและแสงแดดเข้าถึงตัวบ้านได้อย่างเหมาะสม ไม่อึดอัด บางบ้านอาจมีการทำห้องนั่งเล่น หรือระเบียงแยกออกมาต่างหาก เพื่อนั่งรับลมธรรมชาติได้อย่างชิลล์ ๆ ไม่ง้อเครื่องปรับอากาศ แถมยังประหยัดค่าใช้จ่ายในเรื่องค่าไฟฟ้าได้มากทีเดียว

5.เลือกใช้หลอดไฟสีส้ม (WARM WHITE)
การเลือกใช้ไฟสีส้ม หรือ (Warm White) ก็ถือเป็นปัจจัยที่ช่วยทำให้บ้านสไตล์ทรอปิคอลดูสมบูรณ์ และมีเสน่ห์มากยิ่งขึ้นในช่วงเวลาพลบค่ำ เพราะสีส้มแสดงถึงความรู้สึกอบอุ่น เป็นกันเองมากกว่าสีขาวแบบ (Cool White)

บ้านทรอปิคอลบาหลีปนอินเดีย

ไอเดียบ้านทรอปิคอลบาหลีปนอินเดีย

แนวคิดในการสร้างสรรค์บ้าน อาจจะมาจากความประทับใจในองค์ประกอบที่หลากหลายของศิลปะและวัฒนธรรม ซึ่งไม่จำเป็นว่าต้องมาจากสิ่งที่พบในประเทศเท่านั้น บางครั้งเราก็อาจหยิบยืมเสน่ห์ของประเทศเพื่อนบ้านมาใช้ได้ อย่างการออกแบบวิลล่าในประเทศอินเดีย ซึ่งได้ชื่อว่ารุ่มรวยทางวัฒนธรรมแห่งนี้ก็มีแรงบันดาลใจมาจากวัฒนธรรมบาหลี บางส่วนได้รับอิทธิพลจากศรีลังกา นอกจากการผสมผสานงานศิลปวัฒนธรรมของต่างประเทศแล้ว การตกแต่งภายในยังรวมเฟอร์นิเจอร์แบบดั้งเดิมและร่วมสมัยเข้าด้วยกัน

Villa 79 ตั้งอยู่ในชุมชนที่มีรั้วรอบขอบชิด 200 แปลงใน Karamsad รัฐคุชราต เป็นบ้านสไตล์เขตร้อนภายในแปลงขนาด 21×49.6 เมตร ทางเข้าบ้านมีที่จอดรถในร่ม 2 คัน มีประตูคนเดินอยู่ด้านขวา นำผู้ใช้เข้าสู่ภายในวิลล่าที่มีหลากหลายอารมณ์ จากโจทย์ของเจ้าของบ้านอยากได้ที่อยู่อาศัยสำหรับครอบครัวและต้อนรับเพื่อนฝูง ที่ต้องมีความเป็นส่วนตัวเพียงพอจากสายตาเพื่อนบ้านแปลงที่อยู่ติดกัน ภายในสร้างพื้นที่โต้ตอบกับภูมิทัศน์ได้ดี  บ้านเดี่ยว

อาคารจั่วแหลมที่มีประตูกระจกโปร่งๆ ก็เป็นการเน้นย้ำถึงรูปลักษณ์สถาปัตยกรรมบาหลี ที่เข้ากันได้กับพื้นที่สีเขียวสร้างบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติอย่างสมบูรณ์ แต่ขณะเดียวกันที่อาคารด้านหลังกลับเรียบง่ายมีเส้นสายความเป็นโมเดิร์น จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าโปรเจ็คนี้คือการผสมผสานของบ้านสมัยใหม่ที่มีการตกแต่งภายในแบบดั้งเดิมและร่วมสมัยที่ลงตัว จากความต้องการของเจ้าของทำให้สถาปนิกทำผนังบริเวณที่จอดรถด้วยแผงไม้ฉลุลายแลททิซ (จาลี) เพื่อให้มองเห็นภูมิทัศน์ภายในได้อย่างชัดเจนเว้นระยะห่างของตัวบ้านร่นเข้ามาด้านในค่อนข้างมาก แล้วตกแต่งที่ว่างหน้าบ้านเป็นสนามหญ้าเขียวๆ และสระน้ำขนาดใหญ่ ด้านข้างอาคารชั้นเดียวมีแผงฉากทำจากไม้กลึงลายสวย เพื่อพรางตาไม่ให้มองเห็นตัวบ้านด้านใน

Tropical style house
sitting corner

สำหรับการตกแต่ง พื้น ผนัง และพื้นผิวด้านนอก ส่วนอาคารจั่วหลังคาเป็นกระเบื้องดินเผา ซึ่งเป็นสิ่งที่ท้าทายในการจัดหา เนื่องจากการใช้วัสดุที่ไม่ธรรมดาในท้องที่และการไม่มีแรงงานที่มีทักษะเพียงพอสำหรับความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ในด้านผนังทึบฉาบด้วยปูนปลาสเตอร์ พ่นทับด้วยสเปรย์ลายหินผิวขรุขระ และทาทับด้วยสี ก่อเกิดเป็น texture ที่น่าสนใจ

จุดเด่นของบ้านหลังนี้ คือ ทางเข้าเป็นงานปูนปั้นที่มีเสน่ห์ได้รับแรงบันดาลใจจาก “ประตูสวรรค์” หรือ GATES OF HEAVEN ในบาหลี ทีมงานสร้างสรรค์ทางเดินยาวหลายเมตร ขนาบข้างด้วยไม้ประดับและสนามหญ้า เหมือนได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นสวยงามทุกก้าว ค่อย ๆ เดินตามสเต็ปบันไดขึ้นไป ระหว่างนั้นแวะพักฟังเสียงน้ำไหลช้า ๆ ที่ตกลงมาจากน้ำพุทำให้จิตใจสงบ ก่อนเดินไปสู่ซุ้มประตูอันสวยงามที่มีรูปปั้นสีขาวรออยู่  บ้านเดี่ยว

เมื่อเข้าไปในวิลล่า ในห้องนั่งเล่นที่ออกแบบอย่างมีเอกลักษณ์พร้อมโซฟาบุกำมะหยี่สีเขียวอมฟ้าหรูหราสไตล์ร่วมสมัย ตกแต่งเพิ่มเติมด้วยประติมากรรมสไตล์ดั้งเดิม และฉากฉลุที่เรียกว่าจาลีถูกวางเรียงกันในตัวเอง ห้องได้รับการออกแบบให้มีพื้นที่กว้างขวางและไม่มีโครงสร้างเสารองรับให้เสียบรรยากาศ

spacious bedroom

ห้องโถงหลังคาจั่วผนังเปิดโปร่งๆ ได้เหมือนศาลาได้รับอิทธิพลจากบ้านของ Geoffrey Bawa ในศรีลังกา ฟังก์ชันใช้งานในบ้านหลังคาดินเผามี ห้องนั่งเล่น ห้องรับประทานอาหาร ห้องครัว และบาร์ เป็นพื้นที่สาธารณะที่รองรับการมาเยือนของญาติและเพื่อน ๆ ได้ครั้งละหลายคน ส่วนของอาคารสองชั้นด้านหลังมีห้องนอน 2 ห้องที่ชั้นล่าง phuket property มีบันไดและลิฟต์ไปยังห้องบนชั้น 2 ได้สะดวก ห้องนอนแต่ละห้องจะได้รับการออกแบบในธีม สี สไตล์ อุปกรณ์ตกแต่ง เฟอร์นิเจอร์เสริม วอลเปเปอร์ลวดลายที่แตกต่างกัน สำหรับห้องนี้เป็นห้องนอนใหญ่ที่มุมตะวันตกเฉียงใต้ได้รับการออกแบบในสีชมพูและสีเบจ พร้อมเฟอร์นิเจอร์วินเทจที่ทำด้วยโครงลวดไนลอน ห้องนอนมีหน้าต่างขนาดใหญตรงหัวมุมที่มองเห็นวิวสวน ได้รับการออกแบบให้เป็นมุมหลบหลีกให้ผู้ใช้ได้หยุดพักและประสานกับธรรมชาติ

living room activities

จาฬีหรือจาลี (jālī,) แปลว่า “ตาข่าย” เป็นคำเรียกบานหน้าต่างฉลุลายวิจิตรสวยงาม ซึ่งเป็นลักษณะการตกแต่งทางสถาปัตยกรรมที่พบได้ทั่วไปในสถาปัตยกรรมอินโด-อิสลาม  จาลีทำหน้าที่เหมือนฟาซาช่องลม ที่มีช่องว่างให้แสงและอากาศสามารถผ่านได้ ในขณะเดียวกันก็เป็นการลดความรุนแรงของอาทิตย์และฝนที่ผ่านทะลุบานหน้าต่างเข้ามา จาลีสามารถพบได้ทั่วไปในพื้นที่ร้อนชื้นอย่างรัฐเกรละและภูมิภาคกงกัณ ไปจนถึงพื้นที่เขตที่แห้งแล้งอย่างรัฐคุชราตและราชสถาน ประเทศอินเดีย ภายหลังการเข้ามาของกระจกใสในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 การก่อสร้างอาคารในอินเดียเริ่มนำกระจกใสมาทดแทนจาลีแล้วใส่ผ้าม่านปิดบังพื้นที่ด้านใน ความนิยมในการใช้จาลีจึงค่อยๆ ลดลง